Skip to main content

หน้าหลัก

ประชาสัมพันธ์ คู่มือแรงงานไทยในประเทศมาเลเซีย

 คำนำ

          การเดินทางเข้าไปทำงานในประเทศมาเลเซียไม่ใช่เรื่องยาก โดยเฉพาะคนไทยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีชายแดนเชื่อมต่อกันกับประเทศมาเลเซีย แค่มีใบผ่านแดน ก็สามารถเข้าไปในมาเลเซียได้แล้ว แต่หากไม่ทราบระเบียบ ขั้นตอน และวิธีการเข้าไปทำงานที่ถูกต้อง ก็เสี่ยงต่อการเป็นแรงงานผิดกฎหมาย อาจถูกทางการมาเลเซียจับกุม ต้องลำบากอยู่ในเรือนจำหรือสถานกักกัน อีกทั้งยังต้องเสียเงินค่าปรับ บางรายอาจถูกนายจ้างหลอกเก็บค่าทำใบอนุญาตทำงาน ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำใบอนุญาตฯ ให้ หรือบางรายก็เสียค่าทำใบอนุญาตฯ ในอัตราที่สูงกว่าที่ทางการกำหนด 

          ดังนั้น ก่อนตัดสินใจจะไปทำงานในมาเลเซีย แรงงานไทยควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนว่า ประเทศมาเลเซียเป็นอย่างไร มีกฎระเบียบว่าด้วยการเข้าเมืองและการทำงานอย่างไร งานที่ทางการมาเลเซียอนุมัติให้จ้างแรงงานต่างชาติ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง  ขั้นตอนในการทำใบอนุญาตทำงานเป็นอย่างไร  มีค่าใช้จ่ายในการขอใบอนุญาตทำงานหรือไม่ และเมื่อทำงานในประเทศมาเลเซียแล้ว จะได้รับสวัสดิการและการคุ้มครองอย่างไร  เป็นต้น

          นอกจากนี้ แรงงานไทยควรทราบสถานที่ตั้งของบริษัท/ห้างร้านที่จะเข้าไปทำงานด้วยว่าตั้งอยู่ที่เมืองใด รัฐอะไร ทั้งนี้เนื่องจากการจ้างงานในบางรัฐ เช่น  รัฐซาบาฮ์ และซาราวัก มีกฎระเบียบในการจ้างงานแตกต่างจากกฎระเบียบของรัฐในแหลมมลายู กฎระเบียบว่าด้วยการตรวจคนเข้าเมืองก็แตกต่างกัน การทราบสถานที่ตั้งของที่ทำงานอย่างถูกต้อง จะทำให้สำนักงานแรงงานฯ และสถานเอกอัครราชทูตไทยเข้าถึงแรงงานได้ง่าย และสะดวกในการวางแผนให้ความช่วยเหลือเมื่อแรงงานประสบปัญหา 

          สำนักงานแรงงานในประเทศมาเลเซียหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือฯ ฉบับนี้ จะให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของกฎระเบียบต่างๆ ตลอดจนความกระจ่างในเรื่องขั้นตอนการทำใบอนุญาตทำงาน เพื่อแรงงานไทยจะได้เดินทางเข้าไปทำงานในประเทศมาเลเซียได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและตามขั้นตอน สามารถเข้าใจในสถานภาพของการเป็นแรงงาน รู้สิทธิและหน้าที่ของตน สิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับ รวมทั้งทราบแนวทางในการขอความช่วยเหลือในกรณีที่มีปัญหาได้

 

 

สำนักงานแรงงานในประเทศมาเลเซีย

มิถุนายน 2554

 

 


 

 

สารบัญ

 

                                                                                                                                                หน้า

บทที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศมาเลเซีย

บทที่ 2 นโยบายการจ้างแรงงานต่างชาติในประเทศมาเลเซีย

2.1 นโยบายการจ้างงานแรงงานต่างชาติของประเทศมาเลเซีย

2.2 เงื่อนไขในการจ้างงานแรงงานต่างชาติ

บทที่ 3 ใบอนุญาตทำงาน

3.1 ประเภทของใบอนุญาตทำงาน

3.2 ขั้นตอนการขอจ้างแรงงานต่างชาติและการทำใบอนุญาตทำงาน

3.3 การทำใบอนุญาตทำงานโดยใช้ใบเบิกทาง (Border Pass)

3.4 ค่าใช้จ่ายในการทำใบอนุญาตทำงานในประเทศมาเลเซีย

บทที่ 4 สัญญาจ้างงานและการบอกเลิกสัญญา

บทที่ 5 สิทธิประโยชน์และการคุ้มครองแรงงานต่างชาติในประเทศมาเลเซีย

ภาคผนวก

– ภาคผนวก ก   รายชื่อโรคต้องห้าม

– ภาคผนวก ข   รายชื่อโรงพยาบาลในประเทศไทยที่ได้รับอนุมัติจากกรมตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย

– ภาคผนวก ค   ตัวอย่างรายชื่อสถานพยาบาลในสังกัด FOMEMA

– ภาคผนวก ง   ตัวอย่างหนังสืออนุมัติโควต้าจากกระทรวงมหาดไทยมาเลเซีย

– ภาคผนวก จ   ตัวอย่างหนังสืออนุมัติวีซ่าทำงาน (Calling Visa)

– ภาคผนวก ฉ   ตัวอย่างใบอนุญาตทำงาน

 

 

 
บทที่ 1
 
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศมาเลเซีย
 
          มีแรงงานไทยหลายรายในประเทศมาเลเซีย รวมทั้งญาติของแรงงานในประเทศไทย ติดต่อสำนักงานแรงงานในประเทศมาเลเซียเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่เมื่อสำนักงานแรงงานฯ สอบถามที่อยู่ของแรงงานไทย ปรากฎว่าตอบไม่ได้ว่าอยู่ที่ใด ทราบแต่ว่าทำงานอยู่ในมาเลเซีย บางรายดีหน่อยที่ทราบว่าทำงานอยู่ในรัฐอะไร แต่พอถามชื่อเมืองที่ทำงาน ก็ไม่สามารถระบุได้อีก ทำให้ต้องเสียเวลาในการสอบถาม และตรวจสอบหาสถานที่ทำงาน โดยเฉพาะแรงงานที่ไม่มีความรู้ในเรื่องภาษาอังกฤษ แม้ให้สะกดชื่อบริษัทที่ทำงาน ก็ยังสะกดไม่ได้ ทำให้การติดตามให้ความช่วยเหลือต้องล่าช้า ทั้งนี้เพราะแรงงานไทยไม่ให้ความสำคัญในการจดจำสถานที่ทำงาน ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการประสานงานและการวางแผนให้ความช่วยเหลือแรงงานไทย ดังนั้น สำนักงานแรงงานฯ จึงขอให้แรงงานไทยทำความรู้จักประเทศมาเลเซียก่อนว่าเป็นอย่างไร ตั้งอยู่ที่ใด กว้างขวางแค่ไหน และแรงงานไทยจะเข้ามาทำงานในส่วนใดของประเทศนี้
         สภาพทางภูมิศาสตร์
          มาเลเซียเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเขตติดต่อกับประเทศไทยทางภาคใต้ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 329,847 ตารางกิโลเมตร มีขนาดประมาณ 1/3 ของประเทศไทย ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และเขตปกครองพิเศษ 3 เขต โดยมีทะเลจีนใต้คั่นกลาง แยกประเทศมาเลเซียออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่บนแหลมมลายูหรือเพนินซูลา (มี 11 รัฐ) และส่วนที่อยู่บนเกาะบอร์เนียว (มี 2 รัฐ) 
มาเลเซียมีชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ เช่น ประเทศไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม  และฟิลิปปินส์
 
           แผนที่ 1 แผนที่ประเทศมาเลเซีย แสดงให้เห็นการแบ่งประเทศออกเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจน คือส่วนที่อยู่บนแหลมมลายู (ฝั่งซ้าย) และส่วนที่อยู่บนเกาะบอร์เนียว (ฝั่งขวา) โดยมีทะเลจีนใต้คั่นกลาง
 

 


 
          จากแผนที่จะเห็นได้ว่า มีรัฐที่ตั้งอยู่บนแหลมมลายูจำนวน 11 รัฐ ได้แก่ เปอร์ลิส (Perlis)     เคดาห์ (Kedah) ปีนัง (Penang) กลันตัน (Kelantan) เปรัค (Perak) ตรังกานู (Terengganu) ปาหัง (Pahang) สลังงอร์ (Selangor) เนกรี เซมบิลัน (Negeri Sembilan) มะละกา (Malacca) และยะโฮร์ (Johore) และมีรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวจำนวน 2 รัฐ ได้แก่ รัฐซาบาห์ (Sabah) และซาราวัก (Sarawak) 
          การเดินทางระหว่างแผ่นดินใหญ่ และเกาะบอร์เนียว ทำได้โดยเครื่องบินเท่านั้น และจะต้องใช้หนังสือเดินทาง (Passport) ในการผ่านเข้าออกจากเกาะบอร์เนียวด้วย แม้ว่าจะเป็นประเทศเดียวกัน
นอกจากนี้ มาเลเซียยังมีเขตปกครองพิเศษอีก 3 เขต ได้แก่ 
(1) กัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง)
(2) ปุตราจายา (เมืองปกครอง) และ 
(3) ลาบวน
รายละเอียดของรัฐต่างๆ มีดังนี้
 
        รัฐกลันตัน (Kelantan)  
          อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ (ทางด้านตะวันออก) ติดต่อกับจังหวัดนราธิวาสของไทย มีพื้นที่ประมาณ 14,900 ตารางกิโลเมตร มีเมืองโกตาบารู เป็นเมืองหลวง เป็นแหล่งวัฒนธรรมเก่าแก่ของมาเลเซีย 
          รัฐกลันตัน มีการแบ่งเขตปกครองออกเป็น 10 เขตการปกครอง (เทียบเท่าอำเภอ) ดังนี้
 
(1) โกตาบาห์รู (Kota Bharu) เป็นเมืองหลวงของรัฐ (6) ตานะห์ เมราห์ (Tanah Merah)
(2) ปาเซร์มัส (Pasir Mas) (7) กัวลากรัย (Kuala Krai)
(3)ตุมปัท (Tumpat)(8) กัว มูซัง (Gua Musang)
(4) บาช็อก (Bachok) (9) มาชัง (Machang)
(5) ปาเซร์ ปูเต๊ะ (Pasir Puteh) (10) เจอลี (Jeli)
 
          รัฐกลันตัน มีสำนักงานแรงงานท้องที่ 2 แห่ง คือ (1) สำนักงานแรงงานแห่งเมืองโกตาบาห์รู (สำนักงานใหญ่) และ (2) สำนักงานแรงงานสาขาเมืองกัวลากรัย
 
         รัฐเปรัค (Perak) 
           ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู มีอาณาเขตตอนบนติดต่อกับจังหวัดยะลา และนราธิวาสของไทย มีพื้นที่ประมาณ 21,000 ตารางกิโลเมตร มีเมืองอิโปห์เป็นเมืองหลวง 
รัฐเปรัค แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 เขตการปกครอง ดังนี้
 
(1) คินตา (Kinta) เป็นที่ตั้งของเมืองอีโปห์ (6) บาตังปาดัง (Batang Padang)
(2) ลารุต และ มาตัง (Larut & Matang) (7) กัวลากังซาร์ (Kuala Kangsar)
(3) มันจุง (Manjung) (8) เปรัค ตืองาห์ (Perak Tengah)
(4) ฮิลีร์ เปรัก (Hilir Perak) (9) ฮูลู เปรัค (Hulu Perak)
(5) เกอเรียน (Kerian) (10) กัมปาร์ (Kampar)
 
           รัฐเปรัค มีสำนักงานแรงงานท้องที่ 8 แห่ง คือ (1) สำนักงานแรงงานแห่งรัฐเปรัค (สำนักงานใหญ่) (2) สำนักงานแรงงานสาขาอีโปห์ (3) สำนักงานแรงงานสาขากัวลากังซาร์ (4) สำนักงานแรงงานสาขาไทปิง (5) สำนักงานแรงงานสาขาตาปาห์ (6) สำนักงานแรงงานสาขาตะโล๊ะอินตัน  (7) สำนักงานแรงงานสาขาซีเตียวัน และ (8) สำนักงานแรงงานสาขากริก
 
        รัฐเปอร์ลิส (Perlis)  
          ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยที่จังหวัดสตูลและสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 800 ตารางกิโลเมตร จัดว่าเป็นรัฐที่มีพื้นที่น้อยที่สุด ในบรรดา 11 รัฐ มีเมืองกางาร์ เป็นเมืองหลวง 
          รัฐเปอร์ลิส แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 เขตการปกครอง ดังนี้
 
(1) อาเรา (Arau) (7) มาตาอาเยร์ (Mata Ayer)
(2) เบอซรี (Beseri) (8) ปาดังเบซาร์ (Padang Besar)
(3) ชูปิง (Chuping) (9) ซังลัง (Sanglang)
(4) กากีบูกิต (Kaki Bukit) (10) ซิมปัง อำปัต (Simpang Empat)
(5) กางาร์ (Kangar) (11) วัง เกอเลียน (Wang Kelian)
(6) กัวลาเปอร์ลิส (kuala Perlis)
 
          รัฐเปอร์ลิส มีสำนักงานแรงงานท้องที่ 2 แห่ง คือ (1) สำนักงานแรงงานแห่งรัฐเปอร์ลิส (สำนักงานใหญ่) และ (2) สำนักงานแรงงานสาขากางาร์
 
        รัฐเคดาห์ (kasah)  
          ตั้งอยู่ตอนบนของมาเลเซียตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยที่จังหวัดยะลาและสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 9,400 ตารางกิโลเมตร มีเมืองอลอร์สตาร์ เป็นเมืองหลวง เป็นรัฐที่มีภูมิประเทศ ประชากร และศิลปวัฒธรรมคล้ายคลึงกับประเทศไทย และมีคนมาเลเซียเชื้อสายไทย อาศัยอยู่มากที่สุด 
          รัฐเคดาห์ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 เขตการปกครอง ดังนี้
 
(1) บาลิง (Baling) (7) ลังกาวี (Langkawi)
(2) บันดาร์ บาฮารู (Bandar Baharu) (8) ปาดัง เตอรัป (Padang Terap)
(3) อลอร์สตาร์ (Alor Setar) (9) เปินดัง (Pendang)
(4) กัวลามูดา (Kuala Muda) (10) โปโก๊ะ ซือนา (Pokok Sena)
(5) กูบัง ปาซู (Kubang Pasu) (11) ซิก (Sik)
(6) กูลิม (Kulim)         (12) ยาน (Yan)
 
          รัฐเคดาห์ มีสำนักงานแรงงานท้องที่ 5 แห่ง คือ (1) สำนักงานแรงงานแห่งรัฐเคดาห์ (สำนักงานใหญ่) (2) สำนักงานแรงงานสาขาอลอร์สตาร์ (3) สำนักงานแรงงานสาขากูลิม (4) สำนักงานแรงงานสาขาสุไหงปาตานี และ (5) สำนักงานแรงงานสาขาลังกาวี
 
        รัฐยะโฮร์ (Jahor)  
          อยู่ทางตอนใต้สุดของมาเลเซียตะวันตก ติดต่อกับประเทศสิงคโปร์ มีพื้นที่ประมาณ 19,000 ตารางกิโลเมตร มีเมืองยะโฮร์บารู เป็นเมืองหลวง เป็นรัฐที่มั่งคั่ง และพัฒนาอย่างรวดเร็ว 
รัฐยะโฮร์ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 เขตการปกครอง ได้แก่
 
(1) ยะโฮร์ บาห์รู (Johor Bahru) (6) มัวร์ (Muar)
(2) ปอนเทียน (Pontian) (7) เลอดัง (Ledang)
(3) โกตาติงกี (Kota Tinggi) (8) บาตูปาฮัท (Batu Pahat)
(4) กลวง (Kluang)          (9) เมอร์ซิง (Mersing)
(5) เซอกามัต (segamat) (10) กุลัยจายา (Kulaijaya)
 
          รัฐยะโฮร์ มีสำนักงานแรงงานท้องที่ 6 แห่ง คือ (1) สำนักงานแรงงานแห่งรัฐยะโฮร์ (สำนักงานใหญ่) (2) สำนักงานแรงงานสาขายะโฮร์ บาห์รู (3) สำนักงานแรงงานสาขากลวง (4) สำนักงานแรงงานสาขาเซอกามัต (5) สำนักงานแรงงานสาขามัวร์ และ (6) สำนักงานแรงงานสาขาบาตูปาฮัท
 
        รัฐมะละกา (Melaka)  
          อยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะโฮร์ ทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู มีพื้นที่ประมาณ 1,650 ตารางกิโลเมตร มีเมืองมะละกาเป็นเมืองหลวง ถือเป็นเมืองประวัติศาสตร์
รัฐมะละกา แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 เขตการปกครอง ได้แก่
 
(1) เซ็นทรัล มะละกา (Central Melaka)
(2) อโลร์ กาเจาะห์ (Alor Gajah)
(3) จาซิน (Jasin)
 
          รัฐมะละกา มีสำนักงานแรงงานท้องที่ 2 แห่ง คือ (1) สำนักงานแรงงานแห่งรัฐมะละกา (สำนักงานใหญ่) และ (2) สำนักงานแรงงานสาขาเมืองมะละกา 
 
        รัฐเนกรี เซมบิลัน (Negeri Sembilan)  
          ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐมะละกา ทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู มีพื้นที่ประมาณ 6,650 ตารางกิโลเมตร มีเมืองเซเรมบัน เป็นเมืองหลวง และเป็นเมืองท่าที่มีชายฝั่งทะเลสวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อน 
          รัฐเนกรี เซมบิลัน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 เขตการปกครอง ได้แก่
 
(1) เจอเลอบู (Jelebu) (5) เร็มเบา (Rembau)
(2) เจิมโปล (Jempol) (6) เซเรมบัน (Seremban)
(3) กัวลาปีลาห์ (Kuala Pilah) (7) ตัมปิน (Tampin)
(4) พอร์ท ดิกสัน (Port Dickson)
 
         รัฐเนกรี เซมบิลัน มีสำนักงานแรงงานท้องที่ 3 แห่ง คือ 
(1) สำนักงานแรงงานแห่งรัฐเนกรี เซมบิลัน (สำนักงานใหญ่) 
(2) สำนักงานแรงงานสาขาเซเรมบัน และ 
(3) สำนักงานแรงงานสาขากัวลาปีลาห์
 
        รัฐปาหัง (Pahang)  
          อยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะโฮร์ และทางฝั่งตะวันออกของแหลมมลายู เป็นรัฐที่มีพื้นที่ประมาณ 36,000 ตารางกิโลเมตร นับว่าเป็นรัฐที่มีพื้นที่มากที่สุดของมาเลเซียตะวันตก มีเมืองกวนตัน เป็นเมืองหลวง  
          รัฐปาหัง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 เขตการปกครอง ได้แก่
 
(1) กวนตัน (Kuantan) (7) เบินตง (Bentong)
(2) เปอกัน (Pekan) (8) ราอุบ (Raub)
(3) รอมปิน (Rompin) (9) เจอรันตุต (Jerantut)
(4) เตอเมอร์โละห์ (Temerloh) (10) ลิปิส (Lipis)
(5) มาราน (Maran) (11)คาเมรอน ไฮแลนด์ 
(6) เบอรา (Bera)
 
          รัฐปาหัง มีสำนักงานแรงงานท้องที่ 6 แห่ง คือ (1) สำนักงานแรงงานแห่งรัฐปาหัง (สำนักงานใหญ่) (2) สำนักงานแรงงานสาขากวนตัน (3) สำนักงานแรงงานสาขาเบินตง (4) สำนักงานแรงงานสาขาราอุบ (5) สำนักงานแรงงานสาขาเตอเมอร์โละห์ และ (6) สำนักงานแรงงานสาขาเปอกัน
 
        รัฐปีนัง (Penang)  
          เป็นเกาะและมีพื้นที่เป็นดินแดนบางส่วน เหนือรัฐเปรัค อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู มีพื้นที่ประมาณ 1,000 ตารางกิโลเมตร มีเมืองจอร์จทาวน์ เป็นเมืองหลวง เป็นรัฐที่มีความสมบูรณ์ในทุกด้าน ได้สมญานามว่า ไข่มุกแห่งตะวันออก 
          รัฐปีนัง มีเขตการปกครอง ดังนี้
          ส่วนที่เป็นเกาะ (Penang Island)
          แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 เขตการปกครอง ได้แก่
(1) ปีนังตะวันออกเฉียงเหนือ (North East Penang Island)
(2) ปีนังตะวันตกเฉียงใต้ (South West Penang Island)
 
         ส่วนที่เป็นแผ่นดิน หรือเรียกว่า เซอเบอรัง ไปร (Seberang Perai) 
          แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 เขตการปกครอง ได้แก่
(1) เซอเบอรังไปรเหนือ (Northern Seberang Perai)
(2) เซอเบอรังไปรกลาง (central Seberang Perai)
(3) เซอเบอรังไปรใต้ (Southern Seberang Perai)
 
         รัฐปีนัง มีสำนักงานแรงงานท้องที่ 3 แห่ง คือ 
(1) สำนักงานแรงงานแห่งรัฐปีนัง (สำนักงานใหญ่) 
(2) สำนักงานแรงงานสาขาจอร์จทาวน์ และ 
(3) สำนักงานแรงงานสาขาบัตเตอร์เวิร์ธ 
 
        รัฐสลังงอร์ (Selangor)  
          ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู อยู่ระหว่างรัฐเปรัคกับรัฐเนกรี เซมบิลัน มีพื้นที่ประมาณ 8,200 ตารางกิโลเมตร มีเมืองชาห์ อะลัม เป็นเมืองหลวง และมีเมืองกลัง เป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุด 
           รัฐสลังงอร์ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 เขตการปกครอง ได้แก่
(1) กอมบัก (Gombak) (6) กัวลาสลังงอร์ (Kuala Selangor)
(2) ฮูลูลางัต (Hulu Langat) (7) เปอตาลิง (Petaling)
(3) ฮูลูสลังงอร์ (Hulu Selangor) (8) ซาบัก เบอร์นัม (Sabak Bernam)
(4) กลัง (Kelang)          (9) เซอปัง (Sepang)
(5) กัวลาลางัต (Kuala Langat)
 
           รัฐสลังงอร์ มีสำนักงานแรงงานท้องที่ 7 แห่ง คือ (1) สำนักงานแรงงานแห่งรัฐสลังงอร์ (สำนักงานใหญ่) (2) สำนักงานแรงงานสาขาสุบังจายา (3) สำนักงานแรงงานสาขาชาห์ อะลัม (4) สำนักงานแรงงานสาขากลัง (5) สำนักงานแรงงานสาขาราวัง (6) สำนักงานแรงงานสาขาบังงี และ (7) สำนักงานแรงงานสาขากัวลาสลังงอร์ 
 
        รัฐตรังกานู (Terngganu)  
          อยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของแหลมมลายู และอยู่ทางด้านเหนือของรัฐปาหัง มีพื้นที่ประมาณ 13,000 ตารางกิโลเมตร  มีเมืองกัวลาตรังกานู เป็นเมืองหลวง 
รัฐตรังกานู แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 เขตการปกครอง ได้แก่
(1) เบอซุต (Besut) (5) กัวลาตรังกานู (Kuala Terengganu)
(2) ดูงูน (Dungun) (6) มารัง (Marang)
(3) ฮูลูตรังกานู (Hulu Terengganu) (7) เซอติว (Setiu)
(4) เกอมามัน (Kemaman)
 
          รัฐตรังกานู มีสำนักงานแรงงานท้องที่ 5 แห่ง คือ (1) สำนักงานแรงงานแห่งรัฐตรังกานู (สำนักงานใหญ่) (2) สำนักงานแรงงานสาขาตรังกานู (3) สำนักงานแรงงานสาขาดูงูน (4) สำนักงานแรงงานสาขาเกอมามัน และ (5) สำนักงานแรงงานสาขาเซอติว
 
        รัฐซาบาห์ (Sabah)  
         ตั้งอยู่ตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพื้นที่ประมาณ ๗๓,๗๐๐ ตารางกิโลเมตร มีเมืองโกตากิ นาบาลู เป็นเมืองหลวง พื้นที่สองในสามเป็นป่าไม้ และภูเขา ยอดเขาโกตากินาบาลู เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในมาเลเซีย 
          รัฐซาบาฮ์ แบ่งการปกครองออกเป็น 25 เขตการปกครอง ได้แก่
(1) โกตาเบอลูด (Kota Belud) (14) ตัมบูนัน (Tambunan)
(2) โกตากินาบาลู (Kota Kinabalu) (15) เตอนุม (Tenom)
(3) ปาปาร์ (Papar)         (16) โกตามารูดู (Kota Marudu)
(4) เปอนัมปัง (Penampang) (17) กูดัต (Kudat)
(5) ปูตาตัน (Putatan) (18) ปีตัส (Pitas)
(6) ราเนา (Ranau)         (19) เบอลูรัน (Beluran)
(7) ตัวรัน (Tuaran)         (20) กินาบาตางัน (Kinabatangan)
(8) บิวฟอร์ท (Beaufort) (21) ซันดะกัน (Sandakan)
(9) นาบาวัน (Nabawan) (22) ตงงด (Tongot)
(10) เกอนีเงา (Keningau) (23) กูนัก (Kunak)
(11) กัวลาเปอยู (Kuala Penyu) (24) เซิมโปนา (Semporna)
(12) สิปิตัง Sipitang)         (25) ตาเวา (Tawau)
(13)ลาฮัดดาตู (Lahad Datu)
 
          รัฐซาบาห์ มีสำนักงานแรงงานท้องที่ 13 แห่ง คือ (1) สำนักงานแรงงานแห่งรัฐซาบาห์ สำนักงานใหญ่) (2) สำนักงานแรงงานสาขาโกตากินาบาลู (3) สำนักงานแรงงานสาขาบิวฟอร์ท (4) สำนักงานแรงงานสาขาเกอนีเงา (5) สำนักงานแรงงานสาขากูดัต (6) สำนักงานแรงงานสาขาซันดะกัน (7) สำนักงานแรงงานสาขาตาเวา (8) สำนักงานแรงงานสาขาโกตาเบอลูด (9) สำนักงานแรงงานสาขาโกตากินาบาตางัน (10) สำนักงานแรงงานสาขากูนัก (11) สำนักงานแรงงานสาขาลาฮัดดาตู (12) สำนักงานแรงงานสาขาซีตีปัง และ (13) สำนักงานแรงงานสาขาเตอนุม
 
        รัฐซาราวัค (Sarawak)  
          อยู่ทางฝั่งทะเลทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพื้นที่ประมาณ 124,500 ตารางกิโลเมตร นับว่าเป็นรัฐที่มีพื้นที่มากที่สุดของมาเลเซีย มีเมืองกุชิง เป็นเมืองหลวง
รัฐซาราวัก แบ่งการปกครองออกเป็น 11 เขตการปกครอง ได้แก่
(1) เบอตง (Betong) (7) มูกาห์ (Mukah)
(2) บินตูลู (Bintulu) (8) ซามาราฮัน (Samarahan)
(3) กาปิต (Kapit) (9) ซารีเก (Sarikei)
(4) กุชิง (Kuching) (10) ซีบู (Sibu)
(5) ลิมบัง (Limbang) (11) ซรีอามัน (Sri Aman)
(6) มีรี (Miri)
 
          รัฐซาราวัก มีสำนักงานแรงงานท้องที่ 16 แห่ง คือ (1) สำนักงานแรงงานแห่งรัฐซาราวัก (สำนักงานใหญ่) (2) สำนักงานแรงงานสาขากุชิง (3) สำนักงานแรงงานสาขามีรี (4) สำนักงานแรงงานสาขาบากูน (5) สำนักงานแรงงานสาขาบินตูลู (6) สำนักงานแรงงานสาขากาปิต (7) สำนักงานแรงงานสาขาลิมบัง (8) สำนักงานแรงงานสาขามารูดี (9) สำนักงานแรงงานสาขาซารีกัย (10) สำนักงานแรงงานสาขาเซอเรียน (11) สำนักงานแรงงานสาขาซีบู (12) สำนักงานแรงงานสาขาซรอามัน (13) สำนักงานแรงงานสาขาซามาราฮัน (14) สำนักงานแรงงานสาขามูกาห์ (15) สำนักงานแรงงานสาขาลาวาส และ (16) สำนักงานแรงงานสาขาซาราตก
          ดังนั้น เมื่อได้รับการติดต่อหรือทาบทามจากนายจ้างมาเลเซียให้ไปทำงาน แรงงานไทยควรตรวจสอบก่อนว่าที่ตั้งของบริษัทที่จะไปทำงานตั้งอยู่ในรัฐใด อยู่บนแหลมมลายูหรืออยู่บนเกาะบอร์เนียว หรืออยู่ในเขตปกครองพิเศษ และการเดินทางเข้าไปยังรัฐดังกล่าว ต้องไปอย่างไร สามารถใช้เส้นทางคมนาคมเส้นใดบ้าง และในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการจ้างงาน จะสามารถติดต่อสำนักงานแรงงานท้องที่ใดบ้าง เพื่อขอความช่วยเหลือ ในกรณีเร่งด่วน
 
 

 
 
บทที่ 2
 
นโยบายการจ้างแรงงานต่างชาติของรัฐบาลมาเลเซีย
 
          ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศที่มีอัตราการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วประเทศหนึ่งของปวีปเอเชีย ซึ่งไม่เพียงแต่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยว และดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติให้เข้ามาลงทุนแล้ว ยังดึงดูดแรงงานต่างชาติให้เข้ามาแสวงโชค ด้วยการเข้ามาหางานทำเป็นจำนวนมาก ซึ่งสหภาพแรงงานแห่งประเทศมาเลเซีย (Malaysian Trade Union Congress: MTUC) ได้ประมาณว่า มีแรงงานต่างชาติจากประเทศต่างๆ หลั่งไหล่เข้ามาทำงานในประเทศมาเลเซียจำนวนถึง 2.5 ล้านคน โดยแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศอินโดนีเซีย บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า เนปาล ปากีสถาน อินเดีย และไทย  
          ด้วยความกังวลว่าจะมีอัตราการไหล่บ่าของแรงงานต่างชาติเพิ่มขึ้น อันจะทำให้มีผลกระทบต่อการจ้างงานแรงงานท้องถิ่น รัฐบาลมาเลเซียจึงได้ออกมาตรการจำกัดปริมาณแรงงานต่างชาติ โดยการระงับแรงงานต่างชาติจากบางประเทศเป็นการชั่วคราว และการระงับใบอนุญาตทำงานในบางสาขาอาชีพ เป็นต้น ซึ่งสำนักงานแรงงานไทยในประเทศมาเลเซียจะทำหน้าที่ติดตามนโยบายและมาตรการต่างๆ อย่างใกล้ชิดและประชาสัมพันธ์ให้คนไทยทราบ  อย่างไรก็ตาม แรงงานหรือคนหางานที่ประสงค์จะมาทำงานในมาเลเซียก็จะต้องให้ความสนใจติดตามข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ด้วย  
          อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แรงงานไทยควรทราบคือ นโยบายหลักเกี่ยวกับการจ้างแรงงานต่างชาติของรัฐบาลมาเลเซีย เพื่อแรงงานไทยจะได้ประเมินอย่างถูกต้อง ว่าตำแหน่งงานที่ได้รับการทาบทามจากนายจ้างมาเลเซียนั้น มีความเป็นไปได้แค่ไหนที่จะได้รับการว่าจ้าง และจะได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลมาเลเซียหรือไม่ 
 
          นโยบายการจ้างงานแรงงานต่างชาติของรัฐบาลมาเลเซีย
          รัฐบาลมาเลเซีย โดยกระทรวงมหาดไทย (Ministry of Home Affairs) ได้กำหนดนโยบายและวางกฎระเบียบในการพิจารณาอนุมัติการขอจ้างงานแรงงานต่างชาติ ดังนี้
             ก. การคำนึงถึงสิทธิของแรงงานท้องถิ่นเป็นหลัก
ในการว่าจ้างแรงงานในประเทศมาเลเซียนั้น บริษัทจะต้องคำนึงถึงสิทธิของแรงงานท้องถิ่นเป็นหลัก หากจะมีการจ้างงาน ควรเสนอตำแหน่งงานให้แรงงานท้องถิ่นก่อน โดยบริษัทจะต้องพยายามในทุกวิถีทาง เพื่อให้ได้มาซึ่งแรงงานท้องถิ่น เช่น การลงทะเบียนกับกรมแรงงานมาเลเซียเพื่อจัดหาแรงงานท้องถิ่นผ่านระบบ Job Clearance System (JDS) การลงประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
             ข. ภาคประกอบการที่ได้รับการอนุมัติให้จ้างงาน
                        ประเทศมาเลเซียอนุญาตให้แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานใน  5  ภาคประกอบการ ต่อไปนี้
             1. ภาคการเกษตร (Agriculture/Pertanian)
             2. ภาคการเพาะปลูก (Plantation/Perladangan)
             3. ภาคอุตสาหกรรม (Factory/Kilang) ต้องเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเท่านั้น
             4. ภาคการก่อสร้าง (Construction/Pembinaan)
             5. ภาคบริการ (Service) ประกอบด้วยตำแหน่ง ผู้ประกอบอาหาร พนักงานทำความ
 
          สะอาด พนักงานควบคุมคาโก้ พนักงานซักอบรีด ช่างทอง ช่างตัดผม พนักงานขายปลีกและส่ง พนักงานร้านสิ่งทอ พนักงานร้านโลหะ ของเก่าและของมือสอง พนักงานบ้านพักตากอากาศหรือรีสอร์ท พนักงานนวด และแม่บ้าน
             ค. ประเทศที่ได้รับการอนุมัติการจ้างงาน
                จะต้องเป็นแรงงานจากประเทศที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น จึงจะสามารถจ้างงานได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศกัมพูชา เนปาล พม่า ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน ศรีลังกา เตอร์กเมนีสถาน อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน อินเดีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย
             ง. ระยะเวลาของการจ้างงาน
                การจ้างแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศมาเลเซีย จะมีกำหนดระยะเวลาการจ้างงานที่แน่นอน โดยทั่วไปแล้ว ระยะเวลาที่รัฐบาลมาเลเซียกำหนดคือ 5 ปี ต่อได้อีก 5 ปี ดังนั้นแรงงานต่างชาติมีระยะเวลาการจ้างงานสูงสุดเท่ากับ 10 ปี อย่างไรก็ตาม ในการต่อใบอนุญาตทำงานในปีที่ 6 รัฐบาลมาเลเซียมีเงื่อนไข 2 ประการ คือ
                (1) แรงงานต่างชาติจะต้องได้รับประกาศนียบัตรแรงงานฝีมือจากสภาฝึกอบรมแรงงานฝีมือแห่งชาติ (National Vocational Training Council: NVTC) หรือจากคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้าง (Construction Industry Development Board: CIDB) โดยจะต้องได้รับประกาศนียบัตร 3 เดือนก่อนที่ใบอนุญาตทำงานในปีที่ 5 จะหมดอายุ 
                (2) เมื่อการจ้างงานในปีที่ 5 สิ้นสุดลง นายจ้างจะต้องไปยกเลิกใบอนุญาตทำงานของแรงงาน และแรงงานต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางเป็นระยะเวลา 3 เดือน จึงจะสามารถเดินทางเข้ามาทำงานในปีที่ 6 ต่อไปได้ 
                         อย่างไรก็ตาม การอนุมัติใบอนุญาตทำงานในปีที่ 6 จะได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกระทรวงมหาดไทยของมาเลเซีย
 
 

 
เงื่อนไขในการจ้างงานแรงงานต่างชาติ
เงื่อนไขในการจ้างงานแรงงานต่างชาติ มีดังนี้
  1. นายจ้างจะต้องจดทะเบียนสถานที่ทำงานกับกรมแรงงาน ซึ่งสามารถลงทะเบียนผ่านสำนักงานแรงงานในพื้นที่ที่ใกล้เคียงหรือออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.mohr.gov.my ซึ่งนายจ้างจะได้รับหนังสือรับรองการจดทะเบียนและหมายเลขการจดทะเบียน
  2. นายจ้างจะต้องมีหนังสือรับรองจากกรมแรงงาน เพื่อแสดงว่านายจ้างได้ใช้บริการการจัดหาคนงานท้องถิ่นผ่านระบบ Job Clearing System (JCS) ทั้งนี้ ก่อนจ้างแรงงานต่างชาติ นายจ้างในประเทศมาเลเซียต้องประกาศรับสมัครคนหางานท้องถิ่น โดยการประกาศรับสมัครทางหนังสือพิมพ์ ทั้งภาษามาเลเซียและภาษาอังกฤษ หากไม่สามารถรับสมัครคนงานท้องถิ่นภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากที่ประกาศทางหนังสือพิมพ์แล้ว จึงขออนุญาตจ้างแรงงานต่างชาติต่อกระทรวงมหาดไทยของมาเลเซีย
  3. กิจการของบริษัทนายจ้าง ต้องเป็นกิจการเพื่อการส่งออก และไม่ได้ซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศ และจะต้องมีการจ้างคนงานท้องถิ่นด้วย ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละประเภทกิจการ โดยสัดส่วนการจ้างแรงงานต่างชาติต้องน้อยกว่าการจ้างแรงงานท้องถิ่น
  4. นายจ้างจะต้องทำประกันเงินทดแทนให้คนงานต่างชาติทุกคนที่ถูกว่าจ้างอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งสามารถทำประกันกับบริษัทประกันที่ขึ้นทะเบียนกับแผนประกันค่าทดแทนคนงานต่างชาติ (ตาม พรบ. ค่าทดแทนคนงานต่างชาติ 1952)
  5. นายจ้างจะต้องทำประกันสุขภาพให้คนงานต่างชาติทุกคนที่ถูกว่าจ้าง โดยต้องจ่ายเบี้ยประกันภัย จำนวน 120 ริงกิต/ปี/คน (มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554)
 
 

 

บทที่ 3

 

ใบอนุญาตทำงาน

 

          คนงานต่างชาติที่ทำงานในประเทศมาเลเซียจะต้องมีใบอนุญาตทำงาน ซึ่งระบุชื่อคนงาน ชื่อนายจ้าง ประเภทของใบอนุญาตทำงาน ประเภทของงาน ระยะเวลาของใบอนุญาต จึงจะเป็นการทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ใบอนุญาตทำงานมีลักษณะเป็นแผ่นกาว (สติกเกอร์) ติดอยู่ในหนังสือเดินทาง 

          3.1  ประเภทของใบอนุญาตทำงาน  แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

                  3.1.1  ใบอนุญาตทำงานชั่วคราว หรือเรียกว่า Visit Pass (Temporary Employment)

ใบอนุญาตทำงานประเภทนี้ จะออกให้กับแรงงานระดับไร้ฝีมือหรือกึ่งฝีมือ (Unskilled/Semi Skilled) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติใน 5 ภาคประกอบการ ได้แก่ ภาคการเกษตร การเพาะปลูก การอุตสาหกรรม การก่อสร้าง และการบริการ โดยกรมตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซียจะอนุมัติใบอนุญาตฯ เป็นรายปี ขึ้นอยู่กับผลการตรวจสุขภาพของแรงงาน แต่ระยะเวลาที่อนุมัติโดยปกติคือ 5 ปี

                  3.1.2  ใบอนุญาตทำงานประเภท Employment Pass 

ใบอนุญาตประเภทนี้ จะออกให้กับแรงงานระดับช่างฝีมือหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอัตราค่าจ้างหรือเงินเดือนสูงกว่าแรงงานไร้ฝีมือหรือกึ่งฝีมือ การอนุมัติจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ Expatriate Committee ซึ่งจะอนุมัติให้ครั้งละ 2 ปี ไม่มีค่าภาษีแรงงาน แต่มีค่าดำเนินการประมาณ 200 – 300 ริงกิต (ขึ้นกับตำแหน่งงาน) และต้องเสียภาษีเงินได้ให้รัฐบาลมาเลเซีย 

ข้อสังเกตุ ปัจจุบันพบการปลอมแปลงใบอนุญาตทำงาน ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงของจริงมาก หากไม่แน่ใจสามารถขอให้สำนักงานแรงงานไทยในประเทศมาเลเซียตรวจสอบกับสำนักตรวจคนเข้าเมืองได้

 

          3.2 ขั้นตอนการขอจ้างแรงงานต่างชาติและการทำใบอนุญาตทำงาน

          นายจ้างชาวมาเลเซียที่ประสงค์จะจ้างแรงงานต่างชาติ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

 

ขั้นตอนที่ 1

           – นายจ้างจะต้องยื่นขอโควต้าจำนวนแรงงานต่างชาติที่ต้องการจ้างจากกระทรวงมหาดไทยของมาเลเซีย (Ministry of Home Affairs/Kementerian Dalam Negeri:KDN) โดยสามารถยื่นขอได้ที่ศูนย์ครบวงจร (One Stop Centre) ที่กระทรวงมหาดไทย เมืองปุตราจายา 

           – ทางการมาเลเซียจะพิจารณาอนุมัติจำนวนแรงงานต่างชาติ จากประเภทและขนาดของแต่ละกิจการ เมื่อผ่านการพิจารณาอนุมัติแล้ว นายจ้างจะได้รับหนังสืออนุมัติโควตา หรือหนังสือ Kelulusan Bersyarat Pekerja Asing  จากนั้นนายจ้างต้องชำระค่าธรรมเนียมแรงงานต่างชาติ (levy) ในอัตรากำหนด (ตามตารางในข้อ 3.4)  และกระทรวงมหาดไทยจะออกใบเสร็จรับเงินให้นายจ้างไว้เป็นหลักฐาน

          อย่างไรก็ตาม สำหรับงานตำแหน่งพนักงานนวด นอกจากจะต้องชำระค่าธรรมเนียมแรงงานต่างชาติหรือ Levy แล้วแรงงานยังต้องชำระเงินค่ามัดจำความปลอดภัยจำนวน 3,000 ริงกิต (ประมาณ 30,000 บาท) ให้กับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซียด้วย  ซึ่งแรงงานจะได้รับเงินค่ามัดจำฯ คืนเมื่อได้ทำงานครบตามสัญญาจ้าง หรือถูกยกเลิกใบอนุญาตทำงานโดยที่ไม่ใช่ความผิดของแรงงาน 
          ในการดำเนินการขอเงินค่ามัดจำฯ คืน จะกระทำเมื่อแรงงานได้เดินทางกลับประเทศต้นทางแล้ว ซึ่งนายจ้างจะเป็นผู้ดำเนินการ  โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียมดังต่อไปนี้
         (1) หนังสือขอคืนเงินค่ามัดจำ (นายจ้างเป็นผู้ร่างเองหรือขอแบบฟอร์มจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย)
         (2) ใบเสร็จจ่ายเงินค่ามัดจำ 
         (3) Check Out Memo (COM) ของแรงงาน ซึ่งเป็นเอกสารหลักฐานที่ยืนยันว่าแรงงานได้ออกจากประเทศมาเลเซียและได้เดินทางกลับประเทศต้นทางแล้ว โดยแรงงานจะได้รับเอกสาร COM เมื่อไปทำเรื่องยกเลิกใบอนุญาตทำงาน
         (4) บัตรประชาชนของนายจ้าง
ที่ผ่านมา มีพนักงานนวดไทยหลายรายขอให้สำนักงานแรงงานในประเทศมาเลเซียช่วยติดตามเงินค่ามัดจำความปลอดภัยจากนายจ้างคืน แต่ไม่สามารถติดตามเงินค่ามัดจำฯ ได้ เนื่องจากขาดเอกสารหลักฐานตามข้างต้น โดยเฉพาะเอกสารรายการที่ (2) และ (3) ถือว่าเป็นเอกสารที่สำคัญมาก ดังนั้นแรงงานตำแหน่งพนักงานนวดต้องตรวจสอบให้ดีว่ามีเอกสารดังกล่าวหรือไม่ ถ้าไม่มีควรขอนายจ้างถ่ายสำเนาเก็บไว้ 
 
           – ข้อยกเว้น หากต้องการจ้างแรงงานในตำแหน่งแม่บ้าน  ผู้ประกอบอาหารชาวไทย หรือคนงานกรีดยาง ซึ่งทำงานในทางตอนเหนือของมาเลเซีย เช่น ในรัฐเคดาห์ กลันตัน เปอร์ลิส นายจ้างไม่ต้องยื่นขอโควต้าที่กระทรวงมหาดไทย แต่สามารถทำเรื่องขอจ้างจากแผนกการจ้างงานแรงงานต่างชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประจำรัฐได้เลย
          ข้อสำคัญ… หากไม่มีหนังสืออนุมัติโควตา  นายจ้างมาเลเซียจะจ้างแรงงานต่างชาติไม่ได้ 
 
          ขั้นตอนที่ 2
             นายจ้างจะจัดหาคนงานตามจำนวนโควตาที่ได้รับ  ซึ่งนายจ้างอาจติดต่อผ่านบริษัทจัดหางานในประเทศไทย หรือมอบให้สำนักงานแรงงานในประเทศมาเลเซียเป็นผู้ประสานให้ความช่วยเหลือ
 
          ขั้นตอนที่ 3 
             เมื่อติดต่อหาคนงานได้แล้ว นายจ้างต้องนำหลักฐานประกอบด้วย สำเนาหนังสือเดินทางคนงาน ใบรับรองแพทย์ จากสถานพยาบาลที่ทางการมาเลเซียอนุมัติ (ดูภาคผนวก ข.)ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมฯ (ตามขั้นตอนที่ 1) ไปขอ Calling Visa หรือ Visa dengan Rujukan (VDR) ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย ที่เมืองปุตราจายา หรือที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประจำรัฐได้
          ขั้นตอนที่ 4 
             นายจ้างนำเอกสารสัญญาจ้างมาให้สำนักงานแรงงานในประเทศมาเลเซียประทับรับรอง พร้อมเอกสารประกอบ ได้แก่ 
(1) สำเนาหนังสือจดทะเบียนบริษัท (Company registration form 9, 24, 49 หรือ form D)
(2) สำเนา Calling Visa (ต้องนำฉบับจริงมาด้วย)
(3) สัญญาจ้างงาน (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
(4) แผนที่สถานประกอบการ พร้อมรูปถ่ายสถานประกอบการและที่พักของลูกจ้าง 
(5) สำเนาหนังสือเดินทางลูกจ้าง
(6) สำเนาบัตรประจำตัวนายจ้าง
(7) สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการ (Business License) สำหรับการจ้างงานในภาคบริการ
 
           ขั้นตอนที่ 5 
              คนงานนำ Calling Visa  และสัญญาการจ้างงานที่รับรองแล้วไปขอวีซ่าชั่วคราว 3 เดือน (Single Entry visa) ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลมาเลเซียในประเทศไทย
 
           ขั้นตอนที่ 6 
              คนงานแจ้งการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัดภูมิลำเนา หรือที่กรมการจัดหางาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กทม  และรายงานตัวที่ด่านตรวจคนหางาน ณ สนามบินหรือด่านที่เดินทางออกจากประเทศ
 
            ขั้นตอนที่ 7
              เมื่อคนงานเดินทางมาแล้ว นายจ้างจะต้องพาคนงานไปตรวจสุขภาพกับสถานพยาบาลในสังกัดของ FOMEMA (ตัวอย่างสถานพยาบาล ตามภาคผนวก ค) ผลการตรวจสุขภาพจาก FOMEMA จะถูกส่งให้กรมตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย (online) เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติใบอนุญาตทำงาน โดยคนงานที่ไม่มีโรคต้องห้าม ก็จะได้รับการพิจารณาอนุมัติใบอนุญาตทำงาน ส่วนแรงงานที่ไม่ผ่านการตรวจสุขภาพเพราะเป็นโรคต้องห้าม จะไม่มีสิทธิทำงานในประเทศมาเลเซีย และนายจ้างจะต้องส่งคนงานกลับประเทศต้นทาง (รายชื่อโรคต้องห้าม ดูในภาคผนวก ก.)
 
            ขั้นตอนที่ 8
               เมื่อผ่านการตรวจสุขภาพแล้ว นายจ้างจะต้องดำเนินการขอติดสติกเกอร์ใบอนุญาตทำงาน (Visit Pass Temporary Employment) ให้ลูกจ้างที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งจะต้องทำให้แล้วเสร็จ ภายในเวลา 1-3 เดือน  
 
            3.3  การทำใบอนุญาตทำงานโดยใช้ใบเบิกทาง (Border Pass)
      ใบเบิกทาง หรือ Border Pass เป็นเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามข้อตกลงระหว่างไทยและมาเลเซีย ออกให้กับประชาชนไทยในจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศมาเลเซียเท่านั้น ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ยะลา สงขลา สตูล และปัตตานี (จังหวัดปัตตานี แม้จะไม่มีชายแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซีย แต่ก็ได้รับอนุมัติให้ทำใบเบิกทางได้) โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ซึ่งอาศัยอยู่ในอำเภอที่จะขอรับใบเบิกทางมาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 3 ปี  
ประชาชนไทยที่อยู่ในจังหวัดนราธิวาส ยะลา สงขลา และสตูล สามารถยื่นขอใบเบิกทางได้ในอำเภอที่มีภูมิลำเนาอยู่ หรือที่ศาลากลางจังหวัด ส่วนประชาชนในจังหวัดปัตตานี จะต้องยื่นขอรับใบเบิกทาง ณ ที่ว่าการอำเภอที่มีภูมิลำเนาอยู่ จากนั้นให้นำคำร้องที่ได้รับการพิจารณาอนุญาตแล้ว ไปยื่นขอรับใบเบิกทาง ณ ที่ว่าการอำเภอที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซีย
การจัดทำใบเบิกทาง จัดพิมพ์และถ่ายรูปด้วยระบบคอมพิวเตอร์ มีอายุใช้การได้ไม่เกิน 6 เดือน โดยผู้ถือใบเบิกทางสามารถเดินทางเข้าออกประเทศไทย – มาเลเซียกี่ครั้งก็ได้ ตามอายุของใบเบิกทาง อย่างไรก็ตาม ผู้ถือใบเบิกทางสามารถเข้าประเทศมาเลเซียได้เพียง 4 รัฐ คือ รัฐกลันตัน (Kelantan) เคดาห์ (Kedah) เปอร์ลิส (Perlis) และเปรัก (Perak) เท่านั้น
คนไทยที่เดินทางเข้าประเทศมาเลเซียโดยใช้ใบเบิกทาง จะได้รับอนุญาตให้ทำงานใน 4 ประเภทงานเท่านั้น ได้แก่ (1) แม่บ้าน (2) พี่เลี้ยงเด็ก (3) งานในร้านอาหาร และ (4) งานในภาคเกษตร โดยทางการมาเลเซียจะออกใบอนุญาตทำงานที่มีอายุการใช้งาน 3 เดือนให้คนงาน ในกรณีที่ใบเบิกทางมีอายุ 6 เดือน ทางการมาเลเซียจะออกใบอนุญาตให้คนงานครั้งละ 3 เดือน 
ขั้นตอนในการทำใบอนุญาตทำงานโดยใช้ใบเบิกทาง ดังนี้
1. นายจ้างยื่นเรื่องขอจ้างแรงงานต่างชาติ ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประจำรัฐ (4 รัฐชายแดน) ซึ่งนายจ้างจะต้องยื่นเอกสารหลักฐานต่างๆ ตามประเภทงานที่ขอจ้าง
2. นายจ้างพาลูกจ้างไปตรวจสุขภาพ ณ โรงพยาบาลในประเทศไทย หรือที่คลีนิค หรือโรงพยาบาลประจำรัฐในประเทศมาเลเซียก็ได้
3. นายจ้างนำใบเบิกทางฉบับจริงของลูกจ้าง ที่ได้รับการตรวจลงตราการเดินทางเข้าประเทศมาเลเซียแล้ว พร้อมรูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว จำนวน 4 รูป และใบรับรองแสดงผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประจำรัฐ พร้อมเสียค่าธรรมเนียมที่ทางการกำหนด (ดูตารางค่าใช้จ่ายในหัวข้อที่ 3.4)
       3.4  ค่าใช้จ่ายในการทำใบอนุญาตทำงานในประเทศมาเลเซีย
ในการออกใบอนุญาตทำงานให้แรงงานต่างชาติในประเทศมาเลเซีย มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลายรายการ ได้แก่ ค่าภาษีแรงงานต่างชาติ (แตกต่างกันตามภาคประกอบการ) ค่าตรวจสุขภาพ ค่าออกใบอนุญาตทำงาน ค่ามัดจำรับรองความปลอดภัย มีรายละเอียดแต่ละสาขาอาชีพ ดังนี้
 

                       ประเภท

ภาคประกอบการ


ค่าภาษีแรงงานต่างชาติ

 (Levy)


ค่าตรวจสุขภาพ

โดย FOMEMA


ค่าออกใบ

อนุญาตทำงาน

 (Work Permit)


ค่ามัดจำ

ความปลอดภัย


รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น

(ริงกิต)


ภาคการเกษตร

 

–       

ชาย


–       

หญิง


360.00 ริงกิต/คน

 


 

180.00 ริงกิต

190.00 ริงกิต


10.00 ริงกิต

 


250.00 ริงกิต

 


 

800.00 ริงกิต

810.00 ริงกิต


ภาคการเพาะปลูก


–       

ชาย


–       

หญิง


540.00 ริงกิต/คน

 


 

180.00 ริงกิต

190.00 ริงกิต


10.00 ริงกิต

 


250.00 ริงกิต

 


 

980.00 ริงกิต

990.00 ริงกิต


ภาคอุตสาหกรรม

–   ชาย

–   หญิง


 1,200.00 ริงกิต/คน

 


 

180.00 ริงกิต

190.00 ริงกิต


10.00 ริงกิต


250.00 ริงกิต

 


 

1,640.00 ริงกิต

1,650.00 ริงกิต


ภาคก่อสร้าง

–   ชาย

–   หญิง


 1,200.00 ริงกิต/คน

 


 

180.00 ริงกิต

190.00 ริงกิต


10.00 ริงกิต

 


250.00 ริงกิต

 


 

1,640.00 ริงกิต

1,650.00 ริงกิต


ภาคบริการ*

–   ชาย

–   หญิง


 1,800.00 ริงกิต/คน

 


 

180.00 ริงกิต

190.00 ริงกิต


10.00 ริงกิต

 


250.00 ริงกิต

 


 

2,240.00 ริงกิต

2,250.00 ริงกิต


     แม่บ้าน (ชาย/หญิง)

 – คนแรก

 – คนที่สอง-สาม

– คนที่สี่ขึ้นไป


 

360.00 ริงกิต

540.00 ริงกิต

540.00 ริงกิต


 

180/190ริงกิต

 

 


 

10.00 ริงกิต

 



 

    (550/560ริงกิต)

    (730/740ริงกิต)

 

        ตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 เป็นต้นมา รัฐบาลมาเลเซียกำหนดให้นายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบค่าภาษีแรงงานต่างชาติ (Levy) โดยนายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าภาษีจากค่าจ้างของลูกจ้าง 

อย่างไรก็ตาม แรงงานควรทราบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการทำใบอนุญาตทำงาน ทั้งนี้ ในกรณีที่แรงงานต้องการลาออกก่อนครบสัญญาจ้างไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แรงงานอาจจะต้องจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการจ้างงานคืนให้แก่นายจ้าง 

 

 


 

 
บทที่ 4
 
สัญญาจ้างงาน
 
โดยหลักกฎหมาย ให้คำนิยามว่า “สัญญาจ้าง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือหรือด้วยวาจา ระบุชัดเจน หรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยายว่าบุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ‘ลูกจ้าง’ ตกลงจะทำงานให้อีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ‘นายจ้าง’ และนายจ้างตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงาน”
แม้ว่าสัญญาจ้างงานสามารถทำเป็นหนังสือหรือบอกด้วยวาจาได้ แต่คนงานทุกคนควรต้องมีสัญญาจ้างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่ระบุระยะเวลาในการจ้างงาน หรือระบุจำนวนชิ้นงานที่เจาะจง  จำเป็นต้องเขียนสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร  และในสัญญาจ้างจะต้องระบุข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ ให้ชัดเจน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินในกรณีเกิดข้อโต้แย้งระหว่างกันในภายหลัง ดังนี้
    (1) ชื่อของลูกจ้าง และหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือหมายเลขหนังสือเดินทางของลูกจ้าง
    (2) ตำแหน่งงานของลูกจ้าง
    (3) อัตราค่าจ้าง (ต้องไม่ต่ำกว่าที่กรมการจัดหางาน ประกาศกำหนด)
    (4) เบี้ยเลี้ยงอื่นๆ
    (5) อัตราค่าจ้างล่วงเวลา
    (6) สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ (การจัดที่พัก ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ)
    (7) ชั่วโมงทำงานปกติต่อวัน
    (8) ระยะเวลาการบอกกล่าวล่วงหน้ากรณียกเลิกสัญญาจ้าง (ต้องแจ้งล่วงหน้าเป็นเวลา 1 เดือน)
    (9) จำนวนวันหยุดนักขัตฤกษ์ต่อปี และจำนวนวันลาหยุดประจำปีโดยได้รับค่าจ้าง
   (10) ระยะเวลาในการจ่ายค่าจ้าง (ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป)
 
           ส่วนข้อตกลงอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุในสัญญาจ้าง จะถือปฎิบัติตามกฏหมายการจ้างงานมาเลเซีย  
อย่างไรก็ตาม สำหรับแรงงานต่างชาติในประเทศมาเลเซีย รวมทั้งแรงงานไทย ควรมีข้อตกลงที่ควร
 
         ระบุในสัญญาจ้างอีก 3 ประการ คือ
1. การทำประกันเงินทดแทน ตามแบบแผนเงินทดแทนแรงงานต่างชาติที่กฎหมายกำหนด โดยนายจ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเบี้ยประกันตามจำนวนที่รัฐบาลมาเลเซียกำหนด ซึ่งการทำประกันเงินทดแทนนี้ จะให้ความคุ้มครองกรณีพิการ หรือเสียชีวิตเนื่องจากการทำงาน 
2. การประกันสุขภาพ นายจ้างต้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่าเบี้ยประกันตามจำนวนที่รัฐบาลมาเลเซียกำหนด (บังคับใช้เมื่อ 1 มกราคม 2554) ซึ่งจะให้การคุ้มครองแรงงานกรณีต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล (ไม่เกินปีละ 10,000 ริงกิต ตามเงื่อนไขที่กำหนด)  
3. กรณีเสียชีวิต นายจ้างต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดการศพและการส่งศพกลับภูมิลำเนา 
ข้อสำคัญ…สัญญาจ้างต้องทำเป็นภาษาไทยและอังกฤษ คนงานจะต้องอ่าน และทำความเข้าใจสัญญาจ้างให้ชัดเจน ก่อนที่จะลงนามในสัญญา
 
 

 
บทที่ 5
 
สิทธิประโยชน์และการคุ้มครองแรงงานต่างชาติในประเทศมาเลเซีย
 
พระราชบัญญัติค่าทดแทนให้แรงงาน 1952 (Workman’s Compensation Act 1952) ระบุว่าแรงงานต่างชาติได้รับความคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติฯ นี้เช่นเดียวกับชาวมาเลเซีย โดยประเทศมาเลเซียกำหนดให้นายจ้างทำประกันให้กับคนงาน โดยมีค่าเบี้ยประกัน 86 ริงกิตต่อปี ซึ่งจะได้รับผลประโยชน์จากเงินประกันและการจ่ายเงินทดแทนในลักษณะต่างๆ ดังนี้
1. กรณีเสียชีวิต (รวมถึงการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุนอกเวลาทำงาน แต่ไม่รวมการเสียชีวิตตามธรรมชาติ การฆ่าตัวตาย และการตายเนื่องจากเสพยาเสพติด)
       – ได้รับค่าทดแทนไม่เกิน 18,000 ริงกิต หรือ 60 เท่าของเงินเดือนแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า
2. กรณีบาดเจ็บ 
     –  พิการทุพพลภาพ จนไม่สามารถทำงานได้ หรือเป็นอัมพาต ได้รับค่าทดแทนไม่เกิน  23,000
 ริงกิต
     – พิการบางส่วน คิดเป็นสัดส่วนตามสภาพความพิการ โดยได้รับเงินทดแทนสูงสุดไม่เกิน 20,000 ริงกิต
     – ทุพพลภาพชั่วคราว ได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 183 ริงกิต หรือ 1 ใน 3 ของค่าจ้างรายเดือนแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า
     – ค่ารักษาพยาบาล ในวงเงินไม่เกิน 520 ริงกิตต่อครั้ง (ค่ารักษาพยาบาล ค่าผ่าตัด ค่าเอ็กซเรย์  ค่าฉายรังสีอื่นๆ)
3. การส่งคนงานกลับประเทศภูมิลำเนา
       – กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร จะได้รับสิทธิประโยชน์ 48,000 ริงกิต
4. สิทธิประโยชน์จากการประสบอุบัติเหตุนอกเวลาทำงาน 
– กรณีถึงแก่ชีวิตและทุพพลภาพถาวร ได้รับเงินค่าชดเชย 20,000 ริงกิต
การพิจารณาสิทธิประโยชน์ ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองสิทธิประโยชน์คนงาน 1952
– สำนักงานแรงงานประจำรัฐ จะเป็นผู้พิจารณาตามคำวินิจฉัยของแพทย์ และตรวจสอบกับคนงานประกอบการพิจารณา ใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1 เดือน
– สำนักงานแรงงานประจำรัฐสั่งให้บริษัทประกันจ่ายเงินทดแทนให้กับคนงานที่ได้รับบาดเจ็บโดยตรง 
– กรณีนายจ้างไม่ได้ทำประกันให้คนงาน สำนักงานแรงงานประเทศมาเลเซียจะบังคับให้นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินค่าทดแทนนั้นๆ
 
สวัสดิการ
 นายจ้างจะต้องจัดเตรียมที่พักให้กับคนงานฟรี
 นายจ้างจะต้องเตรียมอาหารให้กับคนงานในภาคบริการ
 เมื่อทำงานครบตามสัญญาแล้ว นายจ้างจะออกค่าใช้จ่ายสำหรับกลับภูมิลำเนาให้ลูกจ้าง
 นายจ้างจะเตรียมค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย
 นายจ้างจะทำประกันเงินทดแทนให้กับลูกจ้าง (86 ริงกิตต่อคนต่อปี)
 นายจ้างจะทำประกันสุขภาพให้ลูกจ้าง (120 ริงกิตต่อคนต่อปี)
 

 

 


 

ภาคผนวก ก.

 

รายชื่อโรคต้องห้าม

 

รัฐบาลมาเลเซีย โดยกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย กำหนดให้แรงงานต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในประเทศมาเลเซีย ต้องผ่านการตรวจวินิจฉัยโรคต่อไปนี้ ก่อนที่จะมอบผลการตรวจโรคให้กรมตรวจคนเข้าเมืองอนุมัติการจ้างงาน

 

         โรคประเภทที่ 1 

         ประกอบด้วย

         1. วัณโรค (Tuberculosis)

         2. ไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B)

         3. กามโรค (Sexual Transmit Disease)

         4. ตั้งครรภ์ (Pregnant)

         5. เอดส์ (HIV/AIDS)

         6. สารเสพติดในปัสสาวะ (Urine Positive for Cannabinoids/Opiates)

         7. โรคประสาท (Mental Illness)

         8. มาลาเรีย (Malaria)

         9. ลมชัก (Epilepsy)

        10. มะเร็ง (Cancer)

        11. โรคเรื้อน (Leprosy)

 

         โรคประเภทที่ 2

          ประกอบด้วย

          1. ความดันโลหิตสูง (Hypertension)

                 – มีระดับการบีบของหัวใจมากกว่าหรือเท่ากับ 180 ปรอทมิลลิเมตร

                        (Systolic Pressure  180 mmHg)

                 – มีระดับการพองตัวของหัวใจมากกว่าหรือเท่ากับ 110 ปรอทมิลลิเมตร

                        (Diastolic Pressure  110 mmHg)

           2.  เบาหวาน (Diabetes Mellitus)

                 – มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารน้อยกว่า 11.0 mmol/L

                 – มีค่าเฮโมโกลบิน เอวันซี (Haemoglobin A1c) น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์

           3. โรคหัวใจ (Heart Diseases)

           4. โรคหืด (Asthma)

           5. โรคไต (Kidney Disease)

           6. โรคแผลกระเพาะอาหารทะลุ (Peptic Ulcer)

                 แรงงานต่างชาติที่ผ่านการตรวจสุขภาพกับสถานพยาบาลในสังกัด FOMEMA และพบว่ามีโรคหนึ่งโรคใดในรายการโรคต้องห้าม ถือว่ามีสุขภาพไม่เหมาะสมต่อการจ้างงาน และจะไม่ได้รับการอนุมัติการจ้างงานโดยกรมตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย

 

 


 

 

ภาคผนวก ข.

 

รายชื่อโรงพยาบาลในประเทศไทยที่ได้รับอนุมัติโดยกรมตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซียให้ตรวจสุขภาพแรงงานไทย

 

มีทั้งหมด 68 แห่ง ดังนี้

กรุงเทพมหานคร

1. โรงพยาบาลศิริราช (Siriraj Hospital)

2. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (Chulalongkorn Hospital)

3. โรงพยาบาลราชวิถี (Rajavithi Hospital)

4. โรงพยาบาลรามาธิบดี (Ramathibordee Hospital)

5. โรงพยาบาลเจริญกรุง (Charoen Krung Hospital)

6. โรงพยาบาลเลิดสิน (Lerd Sin Hospital)

7. โรงพยาบาลกลาง (Klang Hospital)

8. โรงพยาบาลตำรวจ (Police Hospital)

9. โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี (Nopparat Ratchathani Hospital)

10. โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า (Phra Mongkutklao)

11. (Medicine Science College Bangkok)

12. โรงพยาบาลศรีวิชัย (Srivichai Hospital)

13. โรงพยาบาลเซ็นต์หลุยส์ (St. Louis Hospital)

14. โรงพยาบาลเดชา (Decha General Hospital)

15. โรงพยาบาลเมโย (Mayo Hospital)

16. โรงพยาบาลกรุงธน 1 (Krungdhon 1 Hospital)

17. โรงพยาบาลคามิลเลียน (Camillian Hospital)

18. โรงพยาบาลธนบุรี (Thonburi Hospital)

19. โรงพยาบาลมงกุฏวัฒนะ (Mongkut Wattana Hospital)

20. โรงพยาบาลวิภาวดี (Vibhavadi Hospital)

21. โรงพยาบาลศรีวิชัย 2 (Srivichai 2 Hospital)

22. โรงพยาบาลหัวเฉียว (Hua Chiew Hospital)

23. โรงพยาบาลพญาไท (Phyathai Hospital)

24. โรงพยาบาลปิยะเวท (Piyavate Hospital)

25. โรงพยาบาลพญาไท 3 (Phyathai 3 Hospital)

26. โรงพยาบาลลาดพร้าว (Lad Prao Hospital)

27. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (Bumrungrad Hospital)

28. โรงพยาบาลบางนา (Bangna Hospital)

29. โรงพยาบาลมิชชัน (Mission Hospital)

30. โรงพยาบาลเปาโลสยาม (Paolo Siam Hospital)

ขอนแก่น

31. โรงพยาบาลขอนแก่นราม (Khon Kean Ram Hospital)

ชลบุรี

32. โรงพยาบาลเอกชล (Aikchol Hospital)

ชุมพร

33. โรงพยาบาลชุมพร (Chomphon Hospital)

เชียงราย

34. โรงพยาบาลเชียงราย (Chiang Rai Hospital)

เชียงใหม่

35. โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม (Chiangmai Ram Hospital)

36. โรงพยาบาลลานนา (Lanna Hospital)

37. โรงพยาบาลนครพิงค์ (Nakorn Ping Hospital)

38. โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ (Chiang Mai Hospital)

นครราชสีมา

39. โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา (Maharaj Nakhon Ratchasima)

40. โรงพยาบาลนครราชสีมา (Nakhon Ratchasima Hospital)

41. โรงพยาบาลค่ายสุรนารี (Fort Suranari Hospital)

นครสวรรค์

42. โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ (Sawanpracharak Hispital)

พิษณุโลก

43. โรงพยาบาลพุทธชินราช (Buddhachinaraj Hospital)

ภูเก็ต

44. โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต (Bangkok Phuket Hospital)

ร้อยเอ็ด

45. โรงพยาบาลร้อยเอ็ด (Roiet Hospital)

ราชบุรี

46. โรงพยาบาลราชบุรี (Rajburi Hospital)

ลพบุรี

47. โรงพยาบาลอานันทมหิดล (Anandamahidol Hospital)

ลำปาง

48. โรงพยาบาลเขลางค์นคร-ราม (Kelangnakorn Ram Hospital)

เลย

49. โรงพยาบาลเมืองเลยราม (Mueang Loei Ram Hospital)

สกลนคร

50. โรงพยาบาลสกลนคร (Sakonnakhon Hospital)

สงขลา

51. โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (Songkla Nagarind Hospital)

52. โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ (Bangkok Hatyai hospital)

53. โรงพยาบาลสงขลา (Songkhla Hospital)

สมุทรปราการ

54. โรงพยาบาลสำโรง (Samrong Hospital)

สมุทรสาคร

55. โรงพยาบาลศรีวิชัย 3 (Srivichai 3 Hospital)

หนองคาย

56. โรงพยาบาลหนองคาย (Nong Khai Hospital)

พระนครศรีอยุธยา

57. โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา (Phra Nakhon Sri Ayutthaya Hospital)

อุดรธานี

58. โรงพยาบาลปัญญาเวช (Panyavej Hospital)

59. โรงพยาบาลนอร์ทอีสเทิร์นวัฒนา (north Eastern Wattana Hospital)

60. โรงพยาบาลอุดรธานี (Udonthani Hospital)

อุบลราชธานี

61. โรงพยาบาลอุบลรักษ์ ธนบุรี (Ubonrak Thonburi Hospital)

62. โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ (Sappasit Prasong Hospital)

63. โรงพยาบาลราชเวชอุบลราชธานี (Ratchawet Ubonratchathani Hospital)

นนทบุรี

64. โรงพยาบาลนนทเวช (Nonthavej Hospital)

65. โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ (Kasemrad Rattanathibeth Hospital)

พะเยา

66. โรงพยาบาลพะเยาราม (Phayaoram Hospital)

สุพรรณบุรี

67. โรงพยาบาลธนบุรีอู่ทอง (Thonburi Uthong Hospital)

 

 

 


 

 

ภาคผนวก ค.

 

ตัวอย่างรายชื่อสถานพยาบาลในสังกัด FOMEMA

 

            สถานพยาบาลหรือคลีนิคในสังกัด FOMEMA มีกระจายอยู่ในรัฐต่างๆ ทั้ง 13 รัฐทั่วประเทศมาเลเซีย ซึ่งสถานพยาบาลหรือคลีนิคดังกล่าว จะมีเลขรหัสประจำตัวของแพทย์ (Doctor Code) ประจำคลีนิคนั้นๆ เช่น

 

 รัฐเปอร์ลิส

ตัวอย่างคลีนิคในสังกัด FOMEMA ในเมืองกางาร์ รัฐเปอร์ลิส

ชื่อคลีนิค                 KLINIK MENON SDN BHD

ชื่อแพทย์                 DR. SHIVAJI SUBRAMANIAM

รหัสประจำตัวแพทย์ (Doctor-Code: D29S000001)

ที่อยู่                 4B &C JLN RAJA SYED ALWI 01000 KANGAR, PERLIS

เบอร์ติดต่อ         TEL: 04-9761457 FAX: 04-9760917

 

รัฐยะโฮร์

ตัวอย่างคลีนิคในสังกัด FOMEMA ในเมืองบาตูปาฮัท รัฐยะโฮร์

ชื่อคลีนิค                 KLINIK TAWAKAL

ชื่อแพทย์                 DR. AHMADOL BIN MOHD YUSOF

รหัสประจำตัวแพทย์ (Doctor-Code: D81A000006)

ที่อยู่                  NO. 13, JALAN BUNGSU, PARIT SULONG, 83500 BATU PAHAT

เบอร์ติดต่อ          TEL: 07-4187091 FAX: 07-4185880

 

รัฐสลังงอร์

ตัวอย่างคลีนิคในสังกัด FOMEMA ในเมืองเชอรัส รัฐสลังงอร์

ชื่อคลีนิค                  KLINIK CHERAS BARU

ชื่อแพทย์                  DR. RAJAVATHANA A/P GOPAL PILLA’

รหัสประจำตัวแพทย์         (Doctor-Code: D1ER000025)

ที่อยู่                  NO 19 JLN BUNGA TANJUNG 7, TMN MUDA CHERAS 56100 

เบอร์ติดต่อ          TEL: 03-42913227 FAX: 03-42913227

 

 

 

 


 

 

ภาคผนวก ง.

 

ตัวอย่างหนังสืออนุมัติโควต้าจากกระทรวงมหาดไทยมาเลเซีย

 

ภาคผนวก จ.

 

ตัวอย่างหนังสืออนุมัติวีซ่าทำงาน (Calling Visa)

 

ภาคผนวก ฉ.

 

ตัวอย่างใบอนุญาตทำงาน

 

 

 

 


 

 

 

อ้างอิง

 

 

1. หนังสือ

Goh Chen Chuan. 2006. Guide to the Employment Act and Labour Laws of Malaysia. Vinlin Press Sdn. Bhd.: Malaysia.

International Law Book Services. 2002. Workmen’s Compensation Act 1952 (Act 273) & Regulations and Orders. Direct Art Company: Kuala Lumpur.

หนังสือภาษามาเลย์

Jabatan Tenaga Kerja Semenanjung Malaysia. 2006. Buku Panduan: Dasar, Prosedur dan Syarat-Syarat Penggajian Pekerja Asing di Malaysia. Perniagaan Rita: Malaysia.

2. เอกสารประกอบการประชุม

Ministry of Health Malaysia. 3 February 2010. Health Care & Foreign Workers. (เอกสารประกอบการประชุมโต๊ะกลม หัวข้อ สิทธิด้านสุขภาพและการศึกษาของแรงงานต่างชาติและผู้ลี้ภัยในประเทศมาเลเซีย กับสภาทนายความมาเลเซีย)

Bahagian Pengurusan Pekerja Asing, Kementerian Dalam Negeri. Dasar Dan Prosedur Pengambilan Pekerja Asing di Malaysia. (เอกสารประกอบการประชุมประจำปีของ Construction Labour Exchange Centre (CLAB) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2554)

3. เว็บไซต์

http://en.wikipedia.org/wiki/Malaysia

http://www.imi.gov.my

http://www.moh.gov.my

http://www.mtuc.org.my

http://www.immigration.go.th/forum/index.php?topic=231.0

http://share.psu.ac.th/blog/nan/860

 

 

 


 

 

 


11441
TOP