แรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ข้อมูลจากกรมตรวจคนเข้าเมือง ณ วันที่ 30 ก.ย. 2567 รวมจำนวน 19,997 คน ประกอบด้วย
ภาคการเกษตร 5,881 คน ภาคการเพาะปลูก 168 คน ภาคการผลิต 71 คน ภาคการก่อสร้าง 353 คน ภาคเหมืองแร่ 3 คน ภาคบริการ 13,119 คน ตำแหน่งผู้ช่วยแม่บ้าน 402 คน
ประเทศมาเลเซียยังมีความจำเป็นที่ต้องจ้างแรงงานต่างชาติ แต่ในส่วนของแรงงานไทยในอนาคต ยังมีความต้องการแรงงานไทย ในสาขาต่างๆ ดังนี้
1. สาขาก่อสร้าง ยังมีความจำเป็นและต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติอยู่ ซึ่งแรงงานจากประเทศไทยจะมีข้อได้เปรียบแรงงานชาติอื่น เนื่องจากมีระดับฝีมือดีกว่า แต่การจ้างแรงงานในภาคการก่อสร้างของมาเลเซียนั้น จะจ่ายค่าจ้างในระดับที่ไม่สูงนัก เมื่อเปรียบเทียบกับค่าจ้างขั้นต่ำที่คนงานก่อสร้างสามารถทำงานและมีรายได้ในประเทศไทย รวมไปถึงการที่นายจ้างมาเลเซียยังไม่จัดสวัสดิการให้เพียงพอ เช่น ที่พักและอาหาร ซึ่งจะผลักภาระให้คนงานเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนนี้ อย่างไรก็ตามหากจะมีการส่งเสริมแรงงานจากประเทศไทยในภาคของการก่อสร้างก็คงจะสามารถดำเนินการได้ในส่วนที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีการจ่ายค่าจ้างค่อนข้างสูง และแน่นอนว่าแรงงานจากประเทศไทยจะต้องเป็นแรงงานที่มีฝีมือด้วย เช่น สาขาเชื่อมใต้น้ำ ซึ่งอาจมีความต้องการช่างฝีมือในด้านนี้ในโครงการที่บริษัทของไทยเข้ามาลงทุนในรัฐซาบาห์ และโครงการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันของบริษัท Petronus ในเขตทะเลรัฐซาบา รวมทั้งการก่อสร้างเมืองท่าเรือเมืองตันจงมานิส ทางตอนเหนือของรัฐซาราวัก
2 ตำแหน่งงานนวดแผนไทย นวดสปา ยังเป็นที่นิยมในประเทศมาเลเซียและมีแนวโน้มของความนิยมต่อไปเรื่อยๆ จึงเป็นสาขาอาชีพที่ควรมีการส่งเสริม อย่างไรก็ตามรัฐบาลมาเลเซียเข้มงวดในการออกใบอนุญาตให้แก่พนักงานนวดมาก เนื่องจากกังวลเรื่องการทำงานที่อาจจะส่อไปถึงข้อห้ามในทางศีลธรรม หรือให้บริการอื่นแอบแฝง
3 งานบริการในร้านอาหารประเภท “ต้มยำ” ซึ่งในธุรกิจประเภทนี้เป็นที่นิยมของผู้บริโภคมาเลเซียทำให้มีผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่จากจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเป็นจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาทำงานในกิจการประเภทนี้ ส่วนใหญ่เป็นการทำงานที่ใช้วีซ่าผิดประเภทและไม่มีใบอนุญาตทำงาน
4 การเกษตรชายแดน ได้แก่ แรงงานเกษตรในสวนปาล์มน้ำมัน และไร่อ้อย มักเป็นการจ้างงานตามฤดูกาล ยังคงเป็นที่ต้องการเนื่องจากมาเลเซียมีพื้นที่สวนปาล์มอยู่เป็นจำนวนมากในรัฐติดชายแดนประเทศไทย ได้แก่ เปอร์สิส เประ เคดาห์ และกลันตัน คนงานส่วนใหญ่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และมักเดินทางเข้ามาโดยใช้เอกสารใบเบิกทาง (Boarder Pass) ซึ่งมีอายุการใช้งาน 6 เดือนและสามารถเข้ามาเลเซียได้ระยะทาง 25 กิโลเมตร
5 สาขาอุตสาหกรรม แรงงานฝีมือในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป โรงงานผลิตแหอวน โรงงานเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ยังมีความต้องการคนงานไทย แต่บางแห่งค่าจ้างไม่สูง ต้องพิจารณาแต่ละสถานประกอบการ
นโยบายด้านแรงงานต่างชาติของประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน
ปัจจุบันรัฐบาลมาเลเซีย ยังคงใช้มาตรการชะลอการจ้างงานแรงงานต่างชาติรายใหม่ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรมนุษย์ของมาเลเซีย ประกาศเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2566 โดยแจ้งว่าโควตาในการจ้างแรงงานต่างชาติที่ได้รับอนุมัติแล้ว มีจำนวนเพืียงพอต่อความต้องการของนายจ้างแล้ว
นโยบายหลักในการจ้างงานแรงงานต่างชาติของรัฐบาลมาเลเซีย
- มาเลเซียมีเป้าหมายในการเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปีพ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030)
- ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มีฐานผลิตที่อาศัยเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติ
- ลดการพึ่งพิงแรงงานต่างชาติให้เหลือร้อยละ 15 ของกำลังแรงงานภายในปีพ.ศ. 2568
(ค.ศ.2025) จำนวนประมาณ 40 ล้านคน จากกำลังแรงงาน 17.20 ล้านคน - ทบทวนบันทึกความเข้าใจโดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย สัญญาจ้าง สุขภาพ ฯลฯ กับประเทศต้นทางจำนวน 15 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย เกี่ยวกับการจ้างงานและการจัดส่งแรงงานต่างชาติ
ทั้งนี้ การบริหารจัดการแรงานต่างชาติในมาเลเซีย จะเป็นไปตามนโยบายของหน่วยงานการวางแผนเศรษฐกิจของมาเลเซีย ที่กำหนดให้มาเลเซียจ้างงานแรงงานต่างชาติไม่เกิน 2.4 ล้านคน ภายในปี 2025 และปัจจุบันประเทศมาเลเซียมีการจ้างงานแรงงานต่างชาติเกินกว่า 2.4 ล้านคน โดยมาเลเซียอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างชาติใน 6 ภาคประกอบการ และ 1 ตำแหน่งงาน ได้แก่ ภาคการผลิต ภาคการเพาะปลูก (พืชเศรษฐกิจ เช่น ต้นปาล์ม ยางพารา โกโก้ ต้นสัก พันธุ์ไม้ป่าอื่นฯ) ภาคการเกษตร (การปลูกพืชไม้ดอกไม้ประดับ ปศุสัตว์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) ภาคก่อสร้าง ภาคการทำเหมืองหิน/เหมืองแร่ ภาคบริการ และตำแหน่งงานผู้ช่วยแม่บ้าน อายุขั้นต่ำในการจ้างงานแรงงานต่างด้าวคือ 18 ปี (ขั้นต่ำ) และ 45 ปี (สูงสุด) การจำกัดอายุนี้หมายถึงอายุที่แรงงานต่างชาติเข้ามาในประเทศมาเลเซียเป็นครั้งแรก ระยะเวลาการจ้างงานที่อนุญาตคือ 10 ปี +3 ปี สำหรับ 6 ภาคที่เป็นทางการ และประเทศที่ได้รับอนุญาตให้จัดหาแรงงานต่างชาติให้กับมาเลเซีย มีจำนวน 15 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย บังกลาเทศ เนปาล เมียนมาร์ อินเดีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ จีน ไทย เวียตนาม โดยร้อยละ 77 ของแรงงานต่างชาติเป็นแรงงานจากบังกลาเทศ อินโดนีเซีย และเนปาลตามลำดับ
โดยรัฐบาลมาเลเซียได้ทบทวน MOU ในประเด็นที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย สัญญาจ้าง สุขภาพ ฯลฯ กับ 15 ประเทศต้นทาง กับ 3 ประเทศแรกที่มีการนำเข้าแรงงานไปแล้ว สำหรับประเทศอื่น ๆ อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการของรัฐบาลมาเลเซีย
อย่างไรก็ตาม สำหรับการจ้างงานแรงงานต่างชาติในรัฐซาราวักและซาบาห์ การจ้างงานแรงงานฝีมือหรือ Expat การจ้างงานแรงงานต่างชาติตำแหน่งผู้ช่วยแม่บ้าน รวมทั้งการจ้างงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทักษะที่เข้ามาทำงานในระยะสั้นๆ ยังคงได้รับอนุญาตให้จ้างงานแรงงานต่างชาติ
แนวโน้มและโอกาสของแรงงานไทย
ปัญหา/อุปสรรค
การที่กระทรวงมหาดไทยของมาเซียประกาศยกเลิกโควตาการจ้างงานแรงงานต่างชาติที่นายจ้างไม่ได้ใช้ และการระงับการอนุมัติโควตาการจ้างงานแรงงานต่างชาติรายใหม่ ส่งผลกระทบต่อโอกาสในการจ้างงานแรงงานไทยในคาบสมุทรมาเลเซีย โดยเฉพาะใน 6 สาขาอาชีพที่ได้รับอนุญาตฯ
แนวโน้ม
การจ้างงานแรงงานต่างชาติในรัฐซาราวักและซาบาห์ การจ้างงานแรงงานฝีมือหรือ Expat รวมทั้งการจ้างงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทักษะที่เข้ามาทำงานในระยะสั้นๆ เช่น นักร้อง นักแสดงงิ้ว ยังคงได้รับอนุญาตให้จ้างงานแรงงานต่างชาติต่อไป และประเทศมาเลเซียยังมีความต้องการจ้างแรงงานต่างชาติที่มีทักษะฝีมือสูงและเฉพาะทาง เช่น ภาษา และบัญชี ฯลฯ สำหรับตำแหน่ง Customer Support, Help Desk & IT Support, Account Payable, Sales Representative
7881