Skip to main content

หน้าหลัก

การปกครอง ประชากร

การปกครองเมืองของประเทศมาเลเซีย

          ประเทศมาเลเซียมีระบบการปกครองเป็นแบบสหพันธรัฐ มีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข เลือกตั้งจากเจ้าผู้ครองรัฐในมาเลเซีย 9 รัฐ ได้แก่ รัฐสลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ ปาหัง เปรัก กลันตัน ตรังกานู เปอร์ลิส และเคดาห์ ผลัดเปลี่ยนกันดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ปัจจุบัน สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมหมัดที่ 5 จากรัฐกลันตัน เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 15 ของมาเลเซีย โดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 13 ธันวาคม 2559 ประเทศมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี พ.ศ 2500 เมื่อครั้งก่อตั้งประเทศใช้ชื่อประเทศว่า “สหพันธรัฐมลายู” ต่อมาในปี พ.ศ.2508 สิงคโปร์จึงได้แยกตัวออกไปเป็นประเทศสิงคโปร์

           ตำแหน่งประมุขของประเทศมาเลเซียคือพระราชาธิบดี เรียกว่า “ยังดี เปอร์ตวนอากง ”มีความหมายว่าผู้ได้รับเลือกให้เป็นเจ้า มาจากการเลือกตั้งผู้ปกครองรัฐ (สุลต่าน) แห่ง (ยะโฮร์  ตรังกานูปาหัง  สลังงอร์  เกดะส์  กลันตัน  เนกรีเซมบีลัน  เประ  และปะลิส) ชายาของสุลต่านที่รับตำแหน่งนี้เรียกว่า “รายา  ประไหมสุหรี่  อากง”

          รัฐที่ไม่มีสุลต่านปกครอง  ได้แก่ ปินัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัก

คำนี้น่ารู้

          สหพันธรัฐ  คือ  การรวมกันของของรัฐมากกว่าสองรัฐขึ้นไป  มีรัฐบาล  2  ระดับ  คือ  รัฐบาลของแต่ละรัฐ (เรียกว่า  รัฐบาลท้องถิ่น)  และรัฐบาลสหพันธรัฐ  (หรือรัฐบาลกลาง)


          มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองเป็น 13 รัฐ (states) และ 3 ดินแดนสหพันธ์  (federal territories) โดยแต่ละรัฐจะมีเมืองหลวงของตนเอง
 

3 ประสานปกครอง

          ประเทศมาเลเซียปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล โดยหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 ของประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 พรรค Pakatan Harapan ซึ่งเป็นแนวร่วมพรรคฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้ง ถือเป็นชัยชนะครั้งแรกของพรรคฝ่ายค้านที่สามารถเอาชนะพรรคแนวร่วมรัฐบาล Barisan Nasional หรือ BN ซึ่งเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลเป็นรัฐบาลโดยเสียงข้างมากและเป็นผู้บริหารประเทศมาโดยตลอดนับตั้งแต่ประเทศมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 โดย ตุน ดร. มหาเธร์ โมฮาหมัด ได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดีของมาเลเซีย และสาบานตนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ Istana Negara เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2561 และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของมาเลเซีย

 

โครงสร้างการเมืองการปกครองของมาเลเซียแบ่งเป็น 3 ฝ่าย ดังนี้

ฝ่ายบริหาร
     ฝ่ายบริหารประกอบด้วยหัวหน้ารัฐบาล คือ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ


ฝ่ายนิติบัญญัติ
     ระบบการปกครองเป็นแบบรัฐสภา (Parliamentary System) ประกอบด้วย
     1)  สภาผู้แทนราษฎร จำนวน 219 คน มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมีระยะเวลาดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี
     2) วุฒิสภา จำนวน 70 คน โดย 44 คนจากการสรรหาและแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี อีก 26 คนเลือกโดยสภานิติบัญญัติของทั้ง 13 รัฐ มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี


ฝ่ายตุลาการ
     เนื่องจากมาเลเซียเคยเป็นประเทศอาณานิคมของอังกฤษมาก่อน จึงใช้กฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) ตามแบบประเทศอังกฤษ สถาบันตุลาการทั้งประเทศ (ยกเว้นศาลอิสลาม) อยู่ภายใต้ระบบสหพันธรัฐ ประมุขของรัฐเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี

 

 


25245
TOP