ระบบกฎหมายของมาเลเซีย มีฐานมาจากระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ของอังกฤษ เพราะเป็นเมืองอาณานิคมของประเทสอังกฤษเมื่อราวปี 1800 – 1960 กฎหมายทั่วไปในมาเลเซียส่วนใหญ่ยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับกฎหมายอังกฤษ เช่น กฎหมายอาญา, กฎหมายแพ่ง, และกฎหมายพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม ประเทศมาเลเซียก็มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายสูงสุด
กฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitutional Law)
– รัฐธรรมนูญของมาเลเซีย (Federal Constitution) เป็นกฎหมายสูงสุดที่มีผลบังคับใช้ทั้งในระดับชาติและระดับรัฐ
– รัฐธรรมนูญกำหนดสิทธิพื้นฐานของประชาชน, โครงสร้างของรัฐบาล, และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลรัฐ
มาเลเซียมีระบบกฎหมายที่แยกระหว่าง Federal Laws (กฎหมายของสหพันธ์) ซึ่งออกโดยรัฐสภามาเลเซีย และใช้บังคับทั่วประเทศ กับ State Laws (กฎหมายของรัฐ) ซึ่งออกโดยรัฐสภาของแต่ละรัฐเองจะมีอำนาจในการออกกฎหมายในบางเรื่อง เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและที่ดิน กฎหมายแรงงาน ทั้งนี้ กฎหมายที่ออกโดยรัฐจะต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมายของสหพันธ์ด้วย
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังกำหนดให้มีระบบกฎหมายพหุนิยม ได้แก่ Secular Laws (กฎหมายของผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม) กับ Sharia Laws (กฎหมายศาสนาของอิสลาม) ซึ่งกฎหมายทั้ง 2 ระบบนี้ก่อให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนและความไม่แน่นอนอยู่เสมอ
กฎหมายอิสลาม (Sharia Law)
– กฎหมายอิสลามมีผลบังคับใช้สำหรับชาวมุสลิมในประเทศมาเลเซีย โดยครอบคลุมเรื่องส่วนบุคคล เช่น การแต่งงาน, การหย่าร้าง, มรดก และอื่น ๆ
– การบังคับใช้กฎหมายอิสลามจะดำเนินการผ่านศาลอิสลาม (Syariah Courts) ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม
โครงสร้างของศาล
– ศาลสูงสุด (Federal Court): เป็นศาลที่มีอำนาจตัดสินคดีในระดับสูงสุด
– ศาลอุทธรณ์ (Court of Appeal): รับผิดชอบในการพิจารณาคดีที่มีการอุทธรณ์จากศาลสูง
– ศาลสูง (High Court): พิจารณาคดีในระดับที่ต่ำกว่า รวมถึงคดีที่สำคัญหรือที่มีความซับซ้อน
– ศาลยุติธรรม (Subordinate Courts): ศาลชั้นต้น (Magistrate’s Courts) และศาลจังหวัด (Sessions Courts) ที่พิจารณาคดีในระดับพื้นฐาน
คณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
– สำนักงานอัยการ (Attorney General’s Chambers): ดูแลการดำเนินคดีทางอาญาและให้คำปรึกษากฎหมายแก่รัฐบาล
– หน่วยงานต่าง ๆ: เช่น หน่วยงานด้านการควบคุมภาคธุรกิจ, การบังคับใช้กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ
12247