Skip to main content

หน้าหลัก

ภูมิศาสตร์

ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร ระหว่าง ละติจูดที่ 2° 30′ N และลองติจูดที่ 112° 30′ E. มีขนาดประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของประเทศไทย ตั้งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคเอเชีย มีพื้นที่ 329,550 ตารางกิโลเมตร และพื้นน้ำ 1,200 ตารางกิโลเมตร 

เขตเวลา: เวลามาเลเซีย (Malaysia Time, GMT +8)

ประเทศมาเลเซียมีอาณาเขตพรมแดนติดต่อกับประเทศต่างๆ ดังนี้ 

  •  ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศไทย
  •  ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศสิงคโปร์
  •  ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศฟิลิปปินส์
  •  ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับช่องแคบมะละกาและเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศมาเลเซีย เป็นดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆโดยมีทะเลจีนใต้เป็นตัวคั่นกลาง ได้แก่

ส่วนแรก คือ คาบสมุทรมลายูหรือแผ่นดินใหญ่ และนิยมเรียกว่า มาเลเซียตะวันตก (Peninsular/West Malaysia) มีพรมแดนทิศเหนือติดประเทศไทยและทิศใต้ติดประเทศสิงคโปร์ ประกอบด้วย 11 รัฐ ได้แก่ สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ ปาหัง เปรัก กลันตัน ตรังกานู เปอร์ลิส เคดาห์ และปีนัง

ภูมิประเทศของคาบสมุทรมลายู เป็นหนองบึงตามชายฝั่งและพื้นดินจะสูงขึ้นเป็นลำดับจนกลายเป็นแนวเขาด้านในของประเทศ โดยมีพื้นที่ราบอยู่ระหว่างแม่น้ำสายต่างๆ พื้นดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์นัก แต่เหมาะสำหรับปลูกยางพาราและต้นปาล์ม ด้านในของประเทศจะมีพืชพันธุ์ไม้นานาชาติขึ้นตามบริเวณป่าดงดิบ โดยเฉพาะในแถบภูเขาซึ่งมีความสูงระหว่าง 150 – 2,187 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีความยาวของชายฝั่งจากเหนือจรดใต้ประมาณ 804 กิโลเมตร ทางฝั่งตะวันตกมีช่องแคบมะละกาแยกออกจากเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ความกว้างของแหลมส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 330 กิโลเมตร

ส่วนที่สอง คือ ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว นิยมเรียกว่า มาเลเซียตะวันตก (West Malaysia) มีพรมแดนทิศใต้ติดประเทศอินโดนีเซียและล้อมรอบประเทศบรูไน ประกอบด้วย 2 รัฐ ได้แก่ รัฐซาบาห์และซาราวัก

ภูมิประเทศบนเกาะบอร์เนียว เป็นที่ราบตามชายฝั่งและมีภูเขาเรียงรายอยู่ด้านใน มีความสูงตั้งแต่ 300-2,440 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ทางตอนเหนือของเกาะเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำคัญ ความกว้างจากชายฝั่งทะเลถึงอาณาเขตที่ติดกับกะลิมันตันของอินโดนีเซียประมาณ 270 กิโลเมตร ชายฝั่งยาว 1,120 กิโลเมตร ส่วนอาณาเขตที่ติดต่อกับกะลิมันตันมีความยาว 1,450 กิโลเมตร

     

 


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

 

ทรัพยากรธรรมชาติ

ประเทศมาเลเซียมีป่าไม้และแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น ดีบุก น้ำมันปิโตรเลียม ไม้ซุง ทองแดง สินแร่เหล็ก ก๊าซธรรมชาติ

ด้านผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมันและประมง 

 


25164
TOP