เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองรัฐยะโฮร์ได้เข้าจับกุมแกงค์ทำใบอนุญาตทำงานปลอมให้แรงงานต่างชาติ ที่เมือง Skudai รัฐยะโฮร์ มีชาวอินเดียถูกจับกุมทั้งสิ้น 44 คน โดยหนึ่งในจำนวนนั้น ถูกจับขณะที่กำลังพิมพ์ใบอนุญาตทำงานปลอม ส่วนจำนวนที่เหลือ เชื่อว่าเป็นลูกค้าหรือเหยื่อที่มารอรับใบอนุญาตทำงาน
เจ้าหน้าที่ฝ่ายบังคับใช้กฎหมายของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองรัฐยะโฮร์ให้ข่าวว่า จากการเข้าค้นอาคารพาณิชย์ขนาด 2 ชั้น ในเมือง Skudai พบหนังสือเดินทางอินเดีย จำนวน 80 เล่ม และหนังสือเดินทางเนปาล 1 เล่ม เครื่องปรินต์ ใบอนุญาตทำงานปลอมที่พิมพ์ออกมาแล้ว รวมทั้งสมุดจดรายชื่อบริษัทหรือโรงงานที่สั่งทำใบอนุญาตทำงานปลอม ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองยะโฮร์เชื่อว่าแกงค์ดังกล่าวได้ดำเนินการมาแล้วเป็นเวลา 2 ปี มีการสั่งซื้อหมึกพิมพ์จากประเทศอินเดีย และขายใบอนุญาตทำงานปลอมในราคา 8,400 ริงกิต
สนร. มาเลเซียจึงขอเตือนให้คนไทยระมัดระวังให้มากในการเดินทางเข้ามาทำงานในมาเลเซีย โดยเฉพาะในรายที่ถูกชักชวนโดยเอเย่นต์ หรือในกรณีที่นายจ้างให้ผู้อื่นไปติดต่อขอใบอนุญาตทำงาน เนื่องจากสนร. มาเลเซียพบว่ามีแรงงานไทย รวมทั้งนายจ้างในมาเลเซียบางราย ถูกเอเย่นต์หลอกทำใบอนุญาตทำงานปลอมแล้วหลายราย ส่วนใหญ่เป็นแรงงานก่อสร้าง แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม และแรงงานตำแหน่งแม่บ้าน แรงงานไทยบางรายรู้เท่าไม่ถึงการณ์ นำใบอนุญาตทำงานปลอมออกไปจ๊อบที่ด่าน ถูกเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซียจับกุม และถูกโทษจำคุก 6 เดือน
การตรวจสอบว่าใบอนุญาตทำงานเป็นของจริงหรือของปลอม ในเบื้องต้น ให้สังเกตในใบอนุญาตทำงาน หรือ Visit Pass (Temporary Employment) ว่าระบุสถานที่ทำงานตรงกับสถานที่ทำงานจริงหรือไม่ และในส่วนของค่าธรรมเนียมวีซ่าของคนไทยจะต้องระบุว่าเป็น Gratis (ยกเว้น) ในส่วนของขั้นตอนที่ถูกต้องของการขอใบอนุญาตทำงานจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซียนั้น คือ คนงานจะต้องได้รับ Calling Visa จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย และจะต้องผ่านการตรวจโรคกับคลีนิคที่อยู่ในสังกัดของ Fomema (หน่วยงานตรวจสอบสุขภาพคนงานต่างชาติ) ก่อน จึงจะสามารถดำเนินการติดสติ๊กเกอร์ใบอนุญาตทำงานในหนังสือเดินทางได้
หากมีข้อสงสัย ติดต่อสอบถามที่สนร. มาเลเซีย หมายเลขโทรศัพท์ 03-2145 5868 03-21456004 หรือ E-mail: thai_labour_office@yahoo.com
รู้หรือไม่!!
การปลอมแปลงเอกสารการเดินทางในมาเลเซีย มีโทษรุนแรงกว่าการอยู่เกินกำหนดมาก กรณีอยู่ เกินกำหนด หากถูกจับกุม จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 ริงกิต หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่กรณีปลอมแปลงเอกสาร มีโทษปรับไม่ต่ำกว่า 30,000 ริงกิต หรือจำคุก 5 – 10